โคมไฟล้านนาบ้านแม่บัวไหล
โคม เป็นชื่อของเมืองโบราณในเชียงราย ชื่อว่า "สุวรรณโคมคำ" โคม ใช้เป็นเครื่องสักการะและใช้ส่องแสงสว่างอันเก่าแก่ของคนในภาคต่าง ๆ ใช้กันทั่วทุกภาค แต่สำเนียงจะแตกต่างกันไป ภาคเหนือจะเรียกว่า "โกม"
โคมไฟล้านนา หรือโกมล้านนา เป็น งานหัตถกรรมพื้นเมืองจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบอทอดต่อกันมา และได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้คงอยู่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันในภาค เหนือ ด้วยเหตุที่การดำรงชีวิตผูกพันกับศาสนา การสร้างผลงานทางศิลปะจึงมีแรงบันดาลใจจากความศรัทธา ปัจจุบันชาวล้านนานิยมนำมาใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในงานประเพณียี่เป็ง หรือ ประเพณีลอยกระทง นิยมจุดโคมค้าง หรือโคมที่ติดแขวนไว้บนที่สูง ทำด้วยไม้ไผ่และกระดาษ สร้างเป็นโคมทรงกลมหักมุมเรียกว่า "โคมรังมดส้ม" ใช้ประดับตกแต่งมีเทียนและประทีปเพื่อเป็นการสักการะบูชาพระพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา) และเชื่อว่าเป็นการบวงสรวงพระเกษแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ซึ่งถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้ว แสงประทีปจากโคมจะช่วงส่งประกายให้การดำเนินชีวิตเจริญร่งเรือนอยู่เย็นเป็น สุข ชาวล้านนาจึงนิยมปล่อยโคมไฟขึ้นฟ้าและจุดประทีปตามบ้านเรือน
การทำโคมไฟล้านนา คณะแม่บัวไหล คณะปัญญา
ในปัจจุบันชุมชนบ้านเมืองสาตร เป็นที่เลื่องลือและมีชื่อเสียงในด้านการทำ “โคม” ” เป็นอย่างยิ่ง ซึ่ง “โคม” ” ถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับประเพณีทางเหนือมาช้านาน โดยเฉพาะประเพณีเดือนยี่เป็ง หรือ วันลอยกระทง “ชุมชนเมืองสาตร” เป็นแหล่งผลิตโคมที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ โคมสวย ๆ ที่เห็นแขวนอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ล้วนมาจากบ้านเมืองสาตรแทบทั้งสิ้น “แม่ครูโคมล้านนา” เป็นคำเรียกขานของผู้คนทั่วไปที่ยกย่องแก่ “แม่ครูบัวไหล คณะปัญญา” แห่งบ้านเมืองสาตร ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มงานหัตถกรรมการทำโคมล้านนาโดยประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุ พื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็นไม้ไผ่ กระดาษสา หรือผ้าดิบ
อุปกรณ์ในการทำตุง
1.ตอก ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร
2.กรรไกร
3.กาว
4.เครื่องหักไม้
5.กระดาษสา
6.ไม้บรรทัด
7.ที่หนีบกระดาษ
8.แม๊กซ์เย็บกระดาษ
9.กระดาษทอง
ขั้นตอนในการทำโคมล้านนา
ขั้นตอนที่ 1 - นำตอกมาหักเป็นรูป 8 เหลี่ยมจำนวน 4 เส้นแล้วใช้ แม็กซ์เย็บให้ติดกัน
ขั้น ตอนที่ 2 - นำตอกที่ทำเป็น 8 เหลี่ยมมาประกบกันโดยใช้กาวติดตามเหลี่ยมแล้วใช้ที่หนีบกระดาษหนีบไว้แล้วนำ ไปตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
ขั้นตอนที่ 3 - เมื่อโครงแห้งแล้วนำกระดาษสามาติดตามรูปทรงของโคม
ขั้นตอนที่ 4 - เสร็จแล้วนำกระดาษทองมาติดตามรอยของไม้และเส้นของโคมที่เราได้ตัดเป็นลวดลายเพื่อความสวยงาม
ขั้นตอนที่ 5 - ติดหางโคมที่เราได้เตรียมไว้
ขั้นตอนที่ 6 - โคมเสร็จสมบูรณ์
ผู้ให้ข้อมูล
แม่บัวไหล คณะปัญญา